30.12.10

เกิด แก่ เจ็บ ตาย


เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นโทษไม่รู้จบ

การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องตกอยู่ในวงจรนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้นและเป็นธรรมชาติ ของสิ่งมีชีวิต เมื่อใดที่เราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ทันที่ที่เราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่เกิดตามมาหลังการเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือแก่ เจ็บ และตายตามมาอย่างไม่อาจหลึกเลี่ยงได้ ฉะนั้นชีวิตเราขอให้จบลงที่ความตายแล้วไม่ต้องเกิดอีก เพราะทุกครั้งที่เราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต ความแก่ ความเจ็บ และความตายจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ฉะนั้นวงจรของชาตชรามรณะ จึงเริ่มต้นที่การเกิด

การ เกิดทำให้เกิดความแก่ ความแก่จึงเป็นโทษของการเกิด เพราะเมื่อเราแก่ตัวลงร่างกายของเราจะทรุดโทรมลงก่อให้เกิดความทุกข์ ยิ่งนานวันยิ่งแก่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งนานวันยิ่งเพิ่มขึ้น สังขารร่วงโรยไม่หล่อไม่สวยเหมือนเดิม เมื่อร่างกายแก่ตัวเพิ่มขึ้นความเจ็บจะค่อย ๆ มาเยือน เมื่อความเจ็บมาเยือนความเจ็บจึงเกิดมาจากสาเหตุแห่งความแก่ หากเราไม่แก่อาจจะทำให้เราไม่เจ็บก็ได้หากสาเหตุแห่งความเจ็บมาจากความแก่ และทรุดโทรมของร่างกาย แต่เมื่อเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตแล้วหลีกเลี่ยงความแก่ไม่ได้ เมื่อหลีกเลี่ยงความแก่ไม่ได้ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความเจ็บได้เช่นกัน เมื่อเจ็บมาก ๆ ความตายก็จะค่อย ๆ คืบคลานมา ความกลัวตายอันเป็นความทุกข์ก็จะคืบคลานเข้ามา บางคนเจ็บนานก็ทุกข์อยู่นาน บางคนทุกข์จากการเจ็บอยู่นานจนอยากตาย แต่ยิ่งอยากตายก็ยิ่งมีชีวิตยืนยาวทำให้เราได้รับความทรมานจากความเจ็บป่วย ร่างกายนานขึ้น

จน กระทั่งร่างกายเสื่อมสภาพแล้วไม่อาจทนสภาพได้อีก ความตายอันแท้จริงก็จะเกิดตามมา แล้วแทนที่ชีวิตเราจะหยุดจบสิ้นลงที่ความตาย หากเราไม่ทำตนให้สิ้นกรรมทั้งมวลก่อนตาย คำว่าสิ้นกรรมคือสิ้นผลของการชดใช้บาปกรรมก่อนตาย อนุสัยในจิตจะกระตุ้นให้เกิดตัณหาขึ้นในจิต เมื่อจิตมีความอยากที่จะเป็นผู้แสวงภพ ในไม่ช้าแรงตัณหาที่เกิดจากความทะยานอยากมีความปรารถนาที่อยากจะเกิดเป็น สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาอีก เมื่อจิตทนต่อสิ่งเร้าในความอยากเกิดไม่ไหว เพราะถูกยั่วยวนด้วยตัณหาภายในจิตนั้นเอง เกิดแรงกระตุ้นให้กลับมาเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตในชาติต่อไปอีก

ใน ที่สุดกลไกการเวียนว่ายตายเกิดก็ไม่อาจยุติลงได้ แล้วยิ่งเกิดมากชาติ อนุสัยในจิตจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น แล้วอนุสัยในจิตเป็นสิ่งที่ต้องขจัดให้หมดสิ้นทั้งดีและไม่ดีจึงจะสามารถ ปรินิพพานได้ แต่การเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตเป็นการพอกพูนอนุสัยในจิตมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ดังนั้นการยิ่งเกิดมากชาติเท่าใด ยิ่งอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายในพุทธศาสนาคือนิพพานออกไปไกลมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ตามจำนวนชาติและกาลเวลาที่ยาวนานของการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏด้วย

ด้วย เหตุนี้เอง ประสิทธิภาพในการเข้าใจสัจธรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน คนที่เกิดมากชาติและสะสมบาปกรรมมากกว่าจะมีประสิทธิภาพในการเข้าใจธรรมะที่ น้อยกว่า เนื่องจากอนุสัยที่มีในจิตมากกว่าจะบดบังขีดความสามารถในการเข้าใจสัจธรรม โดยตรง จึงต้องอาศัยความเพียรพยายามมากขึ้น แต่ตามธรรมชาติคนที่มีบาปกรรมมากย่อมมีความอดทนน้อย ความเพียรจึงน้อยตามลงไป โอกาสในการจะสร้างบาปกรรมใหม่ ๆ ก็จะกระทำได้ง่ายขึ้น โอกาสที่จะสร้างบูญกรรมก็จะน้อย ส่วนคนที่เกิดมาน้อยชาติกว่าจะได้เปรียบ เพราะปริมาณอนุสัยที่สะสมในจิตน้อยกว่า จึงมีบาปกรรมน้อยกว่าประสิทธิภาพในการเข้าใจธรรมะก็ย่อมจะดีกว่า ด้วยเหตุนี้เองการเข้าใจสัจธรรมของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน ทำให้ความเข้าใจในธรรมะที่ผู้เขียนได้เขียนของแต่ละคนที่ได้อ่านย่อมไม่เท่า กันอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงไม่อาจชี้วัดได้ว่าผู้อ่านคนหนึ่งเข้าใจ ผู้นั้นเข้าใจจะต้องหมายความว่าผู้อื่นจะเข้าใจด้วย เพราะการจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้ บาปบุญที่สั่งสมมาทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ สำคัญ ต่อมาคือความตระหนักในบาปกรรม หมายความว่าหากเรารู้ตัวว่าเป็นคนมีบาปกรรมมาก ยิ่งต้องเพิ่มความเพียรในการปฏิบัติให้มากขึ้นแล้วต้องมีความอดทนในการ ปฏิบัติ รวมทั้งต้องเพิ่มความอดทนในการพยายามในการทำทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียน ได้เขียนด้วย

กรรม กิเลส วิบาก จึงเป็นเครื่องกั้นกางการตรัสรู้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะตัวกรรมหากไม่ทำให้บาปกรรมสิ้นสภาพแห่งการชดใช้ บาปกรรมนั้นจะกระตุ้นให้เกิดกิเลสในสมอง แล้วก่อให้เกิดวิบากอันเป็นบาป หรือที่ผู้เขียนเรีกว่าวิบากบาป ซึ่งคำว่าวิบากบาปก็ล้อมาจากคำว่าวิบากกรรม ซึ่งคำว่าวิบากกรรมเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินอยู่แล้วนั้นเอง

ที่มา---Veera เหลืองชมพูเหนือหัวชาวไทย/fb.com

No comments:

Post a Comment

อย่าเสียเวลา