คนพาล คือ คนที่มีใจขุ่นมัวเป็นปกติ เป็นผลให้มีความเห็นผิด ยึดถือค่านิยมผิด ๆ และมีวินิจฉัยเสีย คือ ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วอะไรควรอะไรไม่ควร เช่น บัณฑิตเห็นว่า"เหล้า" เป็นของจัญไรทำให้ขาดสติ นำความเสื่อมมาให้นานัปการแต่คนพาลกลับเห็นว่า "เหล้า" เป็นของประเสริฐเป็นเครื่องกระชับมิตร หรือบัณฑิตเห็นว่า "การเล่นไพ่" เป็นอบายมุข เป็นทางแห่งความฉิบหาย แต่คนพาลกลับเห็นว่า "การเล่นไพ่"เป็นสิ่งดี เป็นการฝึกสมองซ้อมวิชาคำนวณ ดังนี้เป็นต้น
คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดียวกับเรา และอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเราก็ได้เช่น เป็นญาติพี่น้อง สามีภรรยา ครู อาจารย์ ฯลฯ อาจเป็นผู้มีการศึกษาสูง อาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง อาจมีสมัครพรรคพวกมากแม้กระทั่งอาจบวชเป็นพระภิกษุ ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร มีความสัมพันธ์กับเราหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าพาลแล้ว ถึงแม้จะมีความรู้ มีความสามารถก็ไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร เพราะเขาแสลงต่อความดี เหมือนคนไข้แสลงต่อน้ำเย็น
ลักษณะของคนพาล
เนื่องจากคนพาลมีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมใจให้คิดไปในทางที่ถูกต้องได้ คนพาลจึงมีลักษณะวิปริตผิดจากคนทั้งหลาย ๓ ประการคือ
๑. ชอบคิดชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย ได้แก่ คิดละโมบอยากได้ในทางทุจริต คิดพยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ
๒. ชอบพูดชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ
๓. ชอบทำชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย ได้แก่ เกะกะเกเร ชอบล้างผลาญชีวิตคนและสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ
โทษของความเป็นคนพาล
๑.มีความเห็นผิด ก่อทุกข์ให้ตนเอง
๒.เสียชื่อเสียง ถูกติฉิมนินทา
๓.ไม่มีคนนับถือ ถูกเกลียดชัง
๔.หมดสิริมงคลหมดสง่าราศี
๕.ความชั่วเภทภัยทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว
๖.ทำลายประโยชน์ของตนเองทั่วโลกนี้และโลกหน้า
๗.ทำลายวงศ์ตระกูลของตนเอง
๘.เมื่อละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป
วิธีสังเกตคนพาล
คนพาลมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ
๑.คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด
ชัก คือ ชักชวน เชิญชวน ชี้ชวน หรือ เสนอแนะ
นำ คือ การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
เช่น ชักชวนหนีโรงเรียน ชักชวนไปปล้นจี้ ชักชวนหนีตามกันไป ชักนำไปเป็นอันธพาล ฯลฯ การชักนำนี้อาจทำด้วยความหวังดีก็ได้ แต่ว่ามันผิด เช่นได้เงินมาก็ชักชวนเพื่อนไปเลี้ยงเหล้าเที่ยวกลางคือ อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นคนพาล
ผู้ที่ยังเยาว์วัยอ่อนความคิด อ่อนสติ มักถูกชักนำได้โดยง่าย ผู้ใหญ่ในบ้านจึงควรระมัดระวังการกระทำ และคำพูดทั้งของตนเองและผู้ที่มาติดต่อคบหา เพราะเด็กมักจะจำ และทำตามอย่าง
๒.คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เกะกะเกเรหน้าที่การงานของตนไม่พยายามจัดการให้เรียบร้อย แต่ชอบไปก้าวก่ายหน้าที่การงานของผู้อื่น เช่น จับผิดผู้ร่วมงาน เขียนบัตรสนเท่ห์ กลั่นแกล้ง รังแก ทำความรบกวนให้เดือดร้อน ฯลฯ
๓.คนพาลชอบแต่สิ่งผิด ๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นดี เช่น ชอบค้าของเถื่อน ชอบหนีโรงเรียน ชอบเถียงพ่อแม่ ฯลฯ เห็นคนทำถูกเป็นคนเซ่อเห็นคนกลัวผิดเป็นคนเซอะ ฯลฯ
๔.คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ดูหนังสือตอนใกล้สอบ ก็โกรธ เตือนให้ตื่นเช้าก็โกรธ แค่มองหน้าบางครั้งก็ยังโกรธ ฯลฯ
๕.คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะบนพื้นถนน ไปทำงานสาย ฯลฯ
พฤติการณ์ที่เรียกว่า"คบ" คืออย่างไร ?
คบ หมายถึง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมพวก
รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน
ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของ
การไม่คบคนพาล คือ การไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใด ๆ ดังกล่าวข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตามรีบถอนตัวเสียโดยด่วน อย่าประมาทรีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม มิฉะนั้นจะพลาดติดเชื้อพาลโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นพาลตามไปด้วย
โบราณท่านให้คติเตือนไว้ว่า
"ห่างสนุขให้ห่างศอก
ห่างวอกให้ห่างวา
ห่างพาลาให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์"
โทษของการคบคนพาล
๑.ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด
๒.ย่อมเกิดความหายนะการงานล้มเหลว
๓.ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๔.ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดี ๆด้วยก็โกรธ
๕.หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยงและไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย
๖.ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว
๗.เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป
ประเภทของคนพาล
คนพาลมี ๒ ประเภท ได้แก่
๑.พาลภายนอก คือคนพาลทั่วไป ซึ่งแม้จะร้ายกาจเพียงใด เราก็ยังมีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่มีพาลอีกประเภทหนึ่งที่ร้ายยิ่งกว่า เพราะมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ คือ พาลภายใน
๒.พาลภายใน คือ ตัวเราเองขณะที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เช่น หนีงานบ้าง เที่ยวเกเร ไม่ยุ่งธุระคนอื่นโดยใช่เหตุบ้าง แกล้งไปทำงานสายบ้าง คนอื่นเตือนดี ๆ ก็โกรธบ้าง หลีกเลี่ยงวินัยบ้าง พูดไม่ไพเราะบ้าง ครั้งใดที่เราทำเช่นนี้ ครั้งนั้นเราเองนั่นแหละ คือตัวพาล มีเชื้อสายพาลอยู่ใน ต้องรีบแก้ไข
หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
๑.หวั่นห้ามใจตนเองจากความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ก่อนที่มันจะลุกลามต่อไป เช่น การนอนตื่นสาย การละเลยต่อการสวดมนต์ทำสมาธิก่อนนอน
๒.อย่าตามนึกถึงความชั่ว ความผิดพลาดในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่น ผ่านไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ตั้งใจทำความดีใหม่ให้เต็มที่
๓.ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
๔.หลีกเลี่ยงการอ่าน การฟัง การพูด เรื่องเกี่ยวกับคนพาล จะได้ไม่สะสมความคิดเกี่ยวกับพาลไว้ในใจ พยายามสะสมแต่ความคิดที่ดีงามโดยการอ่าน การฟัง การพูด แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ สนทนาธรรม พูดถึงคนที่ทำคุณความดี ฯลฯ
๕.ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้คนพาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เช่นทำงานในที่เดียวกัน เป็นญาติพี่น้องกันในกรณีเช่นนี้เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า เรากำลังอยู่ใกล้สิ่งที่เป็นอันตราย เหมือนอยู่ใกล้คนเป็นโรคติดต่อ ต้องระวังตัว คือ ระวังความเป็นพาลของเขาจะมาติดเราเข้า ต้องหมั่นทำทาน รักษาศีลทำสมาธิ เพื่อให้ในผ่องใสอยู่เสมอ
เราต้องระลึกเสมอว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิตไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า การปราบพาลภายในตัวเราเอง
อานิสงส์การไม่คบคนพาล
๑.ทำให้ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด
๒.ทำให้สามารถรักษาความดีเดิมไว้ได้
๓.ทำให้สามารถสร้างความดีใหม่เพิ่มขึ้นได้อีก
๔.ทำให้ไม่ถูกคนพาลทำร้าย
๕.ทำให้ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกใส่ความ
๖.ทำให้ไม่ถูกมองในแง่ร้าย ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๗.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถตั้งตัวได้เร็ว
๘.ทำให้มีความสุขทั้งตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ
๙.เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน
คนพาลเป็นคนเหมือนกับเรา คือมีร่างกายประกอบด้วยเลือดเนื้อเช่นเดีย
ลักษณะของคนพาล
เนื่องจากคนพาลมีใจขุ่นมัวอยู่เสมอ ทำให้ไม่สามารถควบคุมใจให้คิดไปในทางที่ถู
๑. ชอบคิดชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย ได้แก่ คิดละโมบอยากได้ในทางทุจริต คิดพยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ
๒. ชอบพูดชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ
๓. ชอบทำชั่วต่ำเป็นปกติวิสัย ได้แก่ เกะกะเกเร ชอบล้างผลาญชีวิตคนและสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ
โทษของความเป็นคนพาล
๑.มีความเห็นผิด ก่อทุกข์ให้ตนเอง
๒.เสียชื่อเสียง ถูกติฉิมนินทา
๓.ไม่มีคนนับถือ ถูกเกลียดชัง
๔.หมดสิริมงคลหมดสง่าราศี
๕.ความชั่วเภทภัยทั้งหลาย จะไหลเข้ามาหาตัว
๖.ทำลายประโยชน์ของตนเองทั่วโลกนี้และโลกห
๗.ทำลายวงศ์ตระกูลของตนเอง
๘.เมื่อละโลกไปแล้วมีอบายภูมิเป็นที่ไป
วิธีสังเกตคนพาล
คนพาลมักกระทำในสิ่งต่อไปนี้ คือ
๑.คนพาลชอบชักนำในทางที่ผิด
ชัก คือ ชักชวน เชิญชวน ชี้ชวน หรือ เสนอแนะ
นำ คือ การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
เช่น ชักชวนหนีโรงเรียน ชักชวนไปปล้นจี้ ชักชวนหนีตามกันไป ชักนำไปเป็นอันธพาล ฯลฯ การชักนำนี้อาจทำด้วยความหวังดีก็ได้ แต่ว่ามันผิด เช่นได้เงินมาก็ชักชวนเพื่อนไปเลี้ยงเหล้า
ผู้ที่ยังเยาว์วัยอ่อนความคิด อ่อนสติ มักถูกชักนำได้โดยง่าย ผู้ใหญ่ในบ้านจึงควรระมัดระวังการกระทำ และคำพูดทั้งของตนเองและผู้ที่มาติดต่อคบห
๒.คนพาลชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ เกะกะเกเรหน้าที่การงานของตนไม่พยายามจัดก
๓.คนพาลชอบแต่สิ่งผิด ๆ ชอบถือเอาสิ่งที่ชั่วว่าเป็นดี เช่น ชอบค้าของเถื่อน ชอบหนีโรงเรียน ชอบเถียงพ่อแม่ ฯลฯ เห็นคนทำถูกเป็นคนเซ่อเห็นคนกลัวผิดเป็นคน
๔.คนพาลแม้พูดดีๆ ก็โกรธ เช่น เตือนให้ดูหนังสือตอนใกล้สอบ ก็โกรธ เตือนให้ตื่นเช้าก็โกรธ แค่มองหน้าบางครั้งก็ยังโกรธ ฯลฯ
๕.คนพาลไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย เช่น ไม่ชอบข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะบนพื้นถนน ไปทำงานสาย ฯลฯ
พฤติการณ์ที่เรียกว่า"คบ" คืออย่างไร ?
คบ หมายถึง พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
ร่วม เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมก่อการ ร่วมพวก
รับ เช่น รับเป็นเพื่อน รับเป็นภรรยาหรือสามี รับไว้ทำงาน
ให้ เช่น ให้ความไว้วางใจ ให้คำชมเชย ให้ยศให้ตำแหน่ง ให้หยิบยืมสิ่งของ
การไม่คบคนพาล คือ การไม่ยอมมีพฤติกรรมสัมพันธ์ใด ๆ ดังกล่าวข้างต้นกับคนพาล ถ้าเรายังคบคนพาลอยู่ไม่ว่าจะในระดับไหนก็
โบราณท่านให้คติเตือนไว้ว่า
"ห่างสนุขให้ห่างศอก
ห่างวอกให้ห่างวา
ห่างพาลาให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์"
โทษของการคบคนพาล
๑.ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด
๒.ย่อมเกิดความหายนะการงานล้มเหลว
๓.ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๔.ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดี ๆด้วยก็โกรธ
๕.หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยงและไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัย
๖.ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว
๗.เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไป
ประเภทของคนพาล
คนพาลมี ๒ ประเภท ได้แก่
๑.พาลภายนอก คือคนพาลทั่วไป ซึ่งแม้จะร้ายกาจเพียงใด เราก็ยังมีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่มีพาลอีกประเภทหนึ่งที่ร้ายยิ่งกว่า เพราะมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางห
๒.พาลภายใน คือ ตัวเราเองขณะที่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว เช่น หนีงานบ้าง เที่ยวเกเร ไม่ยุ่งธุระคนอื่นโดยใช่เหตุบ้าง แกล้งไปทำงานสายบ้าง คนอื่นเตือนดี ๆ ก็โกรธบ้าง หลีกเลี่ยงวินัยบ้าง พูดไม่ไพเราะบ้าง ครั้งใดที่เราทำเช่นนี้ ครั้งนั้นเราเองนั่นแหละ คือตัวพาล มีเชื้อสายพาลอยู่ใน ต้องรีบแก้ไข
หลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
๑.หวั่นห้ามใจตนเองจากความชั่วแม้เพียงเล็
๒.อย่าตามนึกถึงความชั่ว ความผิดพลาดในอดีต ทั้งของตนเองและผู้อื่น ผ่านไปแล้วก็ให้แล้วกันไป ตั้งใจทำความดีใหม่ให้เต็มที่
๓.ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
๔.หลีกเลี่ยงการอ่าน การฟัง การพูด เรื่องเกี่ยวกับคนพาล จะได้ไม่สะสมความคิดเกี่ยวกับพาลไว้ในใจ พยายามสะสมแต่ความคิดที่ดีงามโดยการอ่าน การฟัง การพูด แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ สนทนาธรรม พูดถึงคนที่ทำคุณความดี ฯลฯ
๕.ถ้าจำเป็นต้องอยู่ใกล้คนพาลอย่างไม่มีทา
เราต้องระลึกเสมอว่า หน้าที่อันยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิตไ
อานิสงส์การไม่คบคนพาล
๑.ทำให้ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิด
๒.ทำให้สามารถรักษาความดีเดิมไว้ได้
๓.ทำให้สามารถสร้างความดีใหม่เพิ่มขึ้นได้
๔.ทำให้ไม่ถูกคนพาลทำร้าย
๕.ทำให้ไม่ถูกตำหนิ ไม่ถูกใส่ความ
๖.ทำให้ไม่ถูกมองในแง่ร้าย ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๗.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถตั้งตัวได้เร็ว
๘.ทำให้มีความสุขทั้งตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ
๙.เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน
***************
ที่มา---Nichapa Taworn/fb.com
No comments:
Post a Comment