30.9.11

อารมณคือกระแสของจิต (คลื่นอารมณ์)



อารมณคือกระแสของจิต (คลื่นอารมณ์)

๑. " อารมณ์ก็คือกระแสของจิต พวกเจ้าต้องหมั่นศึกษาไว้ อารมณ์ราคะกับปฏิฆะ มีแยกไว้ละเอียดโดยพระพุทธเจ้าในจริต ๖ อารมณ์ใดๆ ที่เกิดแก่จิตย่อมหนีจริต ๖ ไม่พ้น เพราะมันคือ ธรรมารมณ์ ซึ่งนักปฏิบัติกรรมฐานต้องรอบรู้หมดทุกๆ อารมณ์ และ สามารถแยกได้ว่า อารมณ์ที่กำลังทรงอยู่นี้ เป็นจริตใดในจริต ๖ เป็นราคะ หรือ ปฏิฆะ ซึ่งมีกรรมฐานแก้จริตอยู่ ก็ให้ใช้ตามนั้นแก้จริตที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เอะอะจะใช้ อารมณ์สังขารุเบกขาญาณลูกเดียว "

๒. พวกเจ้ายังเข้าใจผิด ยังไม่ถึงเวลา เพราะจิตมันยังไม่ยอมเฉยจริง ยังมีอารมณ์อยู่ จึงยังใช้อารมณ์สังขารุเบกขาญาณไม่ได้ ตัองใช้จริต ๖ รบกันไปก่อน จนกระทั่งจิตทรงตัวดีแล้วจึงค่อยซ้อมอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ "

๓. " ตราบใดที่อารมณ์ยังไม่หมด จริต ๖ ยังเล่นงานอยู่ในจิต อาการตำหนิอารมณ์ก็ต้องเกิด เพราะไม่รู้เท่าทันจริตว่า พอใจหรือไม่พอใจ อย่าให้ความหลงของจิตเข้ามาครอบงำ การกระโดดเข้าสู่อารมณ์สังขารุเบกขาญาณลูกเดียว ก็มีหวังตกม้าตายลูกเดียว เพราะว่ามันวางเฉยไม่จริง จิตไม่มีกำลังที่จะวางเฉยตลอดไปได้ "

๔. " ระวัง...อย่าเพิ่งไปคิดว่าจะต้องทำได้ ทุกอย่างมันไม่มีขั้นตอน อารมณ์ของจิตเรา ถ้าเราไม่รู้แล้วใครจะมารู้ได้ แยกจริต ๖ ให้ออกดูราคะและปฏิฆะให้ออก จึงจะรบกับมันได้ รบกับมันถูกข้าศึกรูปร่างหน้าตาอย่างไร ต้องรู้ รู้แม้กระทั่งการโจมตีวิธีรบของ ข้าศึกที่เข้ามาสิงใจเราอยู่นั้นเป็นอย่างไร ถ้ารู้ไม่จริงมีหวังถูกมันฆ่าตายทุกที  ถ้าอยากชนะก็ต้องชนะอย่างรู้เท่าทัน ไม่ใช่รู้กรรมฐานแก้จริต แต่ไม่รู้จักรูปร่างหน้าตาของจริต ๖ มีอย่างนี้ ราคะ-ปฏิฆะ มีอย่างนี้ รู้กรรมฐานแก้จริตแต่ไม่รู้รูปร่างหน้าตาของจริต ๖ ที่แท้จริงก็ป่วยการ   เปรียบเหมือนมีอาวุธอยู่ในมือ แต่ไม่รู้หน้าตารูปร่างของข้าศึกเป็นอย่างไร  มัวยืนเซ่ออยู่ ข้าศึกมาข้างหลังใช้ไม้ตีหัวก็อยู่หมัดแล้ว งงเห็นดาว ไม่รู้ว่าถูกตีได้อย่างไร ดังนั้นจึงต้องศึกษาจริต ๖ ให้ดีๆ เอากับมันจริงๆ ให้รู้จริงจึงจะวิมุติได้ "

ชีวประวัติ หลวงพ่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง



หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้ปฏิบัติข้อวัตรปฏิบัติจากหลวงพ่อปาน นอกจากนั้นหลวงพ่อท่านยังเชี่ยวชาญในด้านพระกรรมฐานทั้ง 40 กองในวิสุทธิมรรคและมหาสติปัฏฐาน 4 ท่านยังได้นํามาถ่ายทอดให้ศิษยานุศิษย์ได้ศึกษาเพื่อเป็นแนวพ้นทุกข์ ตามพระธรรมคําสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้า และหลวงพ่อท่านยังเป็นพระที่มักน้อย สันโดษและสร้างสาธารณะประโยรชร์ต่อพระพุทธศาสนาและชาติบ้านเมืองเป็นอย่าง มาก
ชาติภูมิ
หลวง พ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร ) เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้าจังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อ นายควง สังข์สุวรรณ มารดาชื่อ นางสมบุญ สังข์สุวรรณ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 จากพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน ดังนี้
1. นายวงษ์ สังข์สุวรรณ เกิดปี พ.ศ. 2453 ปีจอ ถึงแก่กรรมเมื่อ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
2. นางสำเภา ยาหอมทอง(สังข์สุวรรณ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2457 ปีขาล
3. พระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร(สังข์สุวรรณ))
4. พระครูพิศาลวุฒิธรรม (พระมหาเวก อักกวังโส(สังข์สุวรรณ)) เดิมชื่อ หวั่น เกิดปีพ.ศ. 2463 ปีวอก วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพมหานคร
5. ด.ญ. อุบล สังข์สุวรรณ เกิดปี พ.ศ. 2468 ปีฉลู ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุ 4 ขวบ เดิมชื่อ พัว

บิดา เป็นหัวหน้าหาเลี้ยงครอบครัวโดยเป็นเจ้าของนาอยู่ 40 กว่าไร่ ทำนาได้ข้าวปีละ 9 - 10 เกวียน สมัยนั้นราคาข้าวเกวียนละ 20 - 25 บาท บิดาจึงมีอาชีพหลัก คือ ทำนาและหาปลา มารดาเป็นคนใจบุญสุนทาน ขณะจะตั้งครรภ์ นอนฝัน เห็นพรหมมีสีเหลืองเป็นทองคำเหมือนพระพุทธรูป นอนลอยไปในอากาศ มีเพชรประดับแพรวพราวทั้งตัว เข้าทางหัวจั่วด้านทิศเหนือ เข้ามานั่งที่ตักท่าน มาร***็กอดไว้ แล้วก็หายเข้าไปในกาย เมื่อเกิดมาใหม่ ๆ ลุงที่บวชเป็นพระได้ฌานสมาบัติ (หลวงพ่อเล็ก เกสโร) ท่านบอกว่า เจ้าเด็กคนนี้มาจากพรหม ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า "พรหม" และต่อมาภายหลัง คนที่จดสำมะโนครัวเขามาเปลี่ยนชื่อให้เป็น "สังเวียน" เนื่องจากท่านเป็นคนใจกล้า ไม่กลัวใคร ท่านยายกับชาวบ้านเรียกว่า "เล็ก" ส่วนท่านมารดาและพี่ ๆ น้อง ๆ เรียกว่า "พ่อกลาง"
พ.ศ. 2466 อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 3 พ.ศ. 2474 อายุ 15 ปี อาศัยกับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2478 อายุ 19 ปี เข้าทำงานเป็นเภสัชกรทหาร สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า) พ.ศ. 2479 อายุ 20 ปี อุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เวลา 13.00 นาฬิกา ที่วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนันโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
คำสั่งพระอุปัชฌาย์ ขณะเข้าบวช หลวงพ่อปาน ท่านบอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อ(ปาน) หลวงพ่อเล็กก็เหมือนกัน ท่านอุปัชฌาย์ท่านยิ้มแล้วท่านพูดว่า "3 องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน 2 องค์นี้พอครบ 10 พรรษาต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จงไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิชาเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จงเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ในป่าเป็นวัตร เพราะเธอมีบริวารมาก ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ 20 พรรษาจงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้วไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ"
พ.ศ. 2480 อายุ 21 ปี สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ. 2481 อายุ 22 ปี สอบได้นักธรรมโท
พ.ศ. 2482 อายุ 23 ปี สอบได้นักธรรมเอก
ระหว่างพรรษาที่ 1 - 4
 - เรียนอภิญญา
 - ธุดงค์ป่าช้า, ป่าศรีประจันต์, พระพุทธบาท, พระพุทธฉาย, เขาวงพระจันทร์, เขาชอนเดื่อ, ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์, ดงพระยาเย็น, ภูกระดึง, พระแท่นดงรัง ฯลฯ
 - ศึกษาวิปัสสนา
ระหว่างปี พ.ศ. 2480-2483 ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และ หลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ
พ.ศ. 2483 อายุ 24 ปี เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียน บาลีจากนั้นย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคารามในช่วงออกพรรษาในสมัยสมเด็จพระพุฒา จารย์(นวม) อยู่วัดช่างเหล็กในช่วงเข้าพรรษา ระหว่างนี้ได้ศึกษาเพิ่มเติมกรรมฐานกับหลวงพ่อสดวัด ปากน้ำภาษีเจริญ และพบพระสุปฏิปันโนอีกมาก เช่น สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) เป็นต้น
พ.ศ. 2486 อายุ 27 ปี สอบได้ เปรียญธรรม 3 ประโยค เปลี่ยนชื่อเป็น "พระมหาวีระ" เพื่อไม่ให้คล้ายกับ พระมหาสำเนียง ที่อยู่วัดช่างเหล็ก ที่เดียวกัน
พ.ศ. 2488 อายุ 29 ปี สอบได้ เปรียญธรรม 4 ประโยค ย้ายมาอยู่วัดประยูรวงศาวาส ได้เป็นรองเจ้าคณะ 4 วัดประยูรวงศาวาส และฝึกหัดการเป็นนักเทศน์
พ.ศ. 2492 อายุ 33 ปี จำพรรษาที่วัดลาวทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2494 อายุ 35 ปี จึงกลับไปอยู่วัดบางนมโคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค
พ.ศ. 2500 อายุ 41 ปี อาพาธหนักเข้าโรงพยาบาลกรมแพทย์ทหารเรือ
พ.ศ. 2502 อายุ 43 ปี พักฟื้นที่วัดชิโนรสาราม จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ จากนั้นจึงได้ย้ายไปอยู่วัดโพธิ์ภาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ ได้ลูกศิษย์รุ่นแรก 6 คน
พ.ศ. 2505 อายุ 46 ปี ไปจำพรรษาที่วัดพรวน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นเวลา 1 พรรษา
พ.ศ. 2506 อายุ 47 ปี กลับมาจำพรรษาที่วัดโพธิ์ภาวนาราม พอกลางเดือนมิถุนายน ก็ได้ลาพุทธภูมิ
พ.ศ. 2508 อายุ 49 ปี จำพรรษาที่ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วเริ่มไป - กลับวัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เพื่อสอนพระกรรมฐาน
พ.ศ. 2510 อายุ 51 ปี ได้สอนวิชามโนมยิทธิ แล้วจึงจำพรรษาที่วัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2511 อายุ 52 ปี ในวันที่ 11 มีนาคม จึงมาอยู่วัดจันทาราม (ท่าซุง) ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ได้ทำบูรณะ สร้างและขยายวัด จากเดิมมีพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน 07 2/10 ตารางวา จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ 289 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา มีอาคารและถาวรวัตถุต่าง ๆ จำนวน 144 รายการในวัด สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 611,949,193 บาท สิ่งก่อสร้างทั้งในวัดและนอกวัด อาทิเช่น หอสวดมนต์, พระพุทธรูป, อาคารปฏิบัติกรรมฐาน, ศาลาการเปรียญ, วิหาร 100 เมตร, โบสถ์ใหม่, บูรณะโบสถ์เก่า, ศาลา 2 ไร่, 3 ไร่, 4 ไร่ และ 12 ไร่, หอไตร, โรงพยาบาลศูนย์แม่และเด็ก ชนบทที่ 61, พระจุฬามณี, มณฑปท้าวมหาราชทั้ง 4, พระบรมราชานุสาวรีย์ 6 พระองค์, พระชำระหนี้สงฆ์, โรงไฟฟ้า, โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา, ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์ เป็นต้น ทั้งยังได้ช่วยการก่อสร้างที่วัดอื่น ๆ ในประเทศไทยอีกมากมาย
พ.ศ. 2520 อายุ 61 ปี ตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม
พ.ศ. 2526 อายุ 67 ปี สร้างโรงพยาบาลแม่และเด็กชนบทที่ 61 และมอบให้กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2527 อายุ 68 ปี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชคณะชั้นสามัญเปรียญวิ.(ป.ธ.4 น.ธ.เอก) ที่ "พระสุธรรมยานเถร"
พ.ศ. 2528 อายุ 69 ปี สร้างโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา
พ.ศ. 2532 อายุ 73 ปี ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพรราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
พ.ศ. 2535 อายุ 76 ปี ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรง พยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2535 เวลา 16.10 น. ปัจจุบันศพของหลวงพ่อได้บรรจุไว้ในโลงแก้วบนบุษบกทองคำที่ประดับด้วยอัญมณี อันวิจิตรงดงาม ณ วัดจันทาราม ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ
ทาง ด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล, สร้างโรงเรียน, จัดตั้งธนาคารข้าว, ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่าง ๆ เพื่อ ปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร, ยา, อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ
ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติสำรวมกาย, วาจา, ใจ, มุ่งในทาน, ศีล, สมาธิ และปัญญา ทั้งในทางกรรมฐาน 40 และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนจำนวนมากและบันทึกเทปคำสอนกว่า 1,000 ม้วน นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรมเทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็น ครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุก ๆ ปี
ทาง ด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระไตรปิฎก และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า 200 ไตร
ทาง ด้านพระมหา กษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ทั้งการแจกเสื้อผ้า, อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน, การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ, การจัดแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย, การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน, การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่าง ๆ ฯลฯ
นับได้ว่าพระเดช พระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตา มหาศาลสมกับเป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรสแท้องค์หนึ่ง
คุณวิเศษส่วนองค์และ ต่อส่วนรวม
1. เป็นผู้ได้บำเพ็ญบารมีมามาก
2. ทรงอภิญญาสมาบัติและปฏิสัมภิทาญาณ
3. ทรงเถรธรรม ประกอบด้วย รัตตัญญู (รู้ราตรีนาน), สีลวา (มีศีล), พหุสสุตะ (ทรงความรู้ได้ฟังมาก), สวาคตะปาฏิโมกขะ (วินิจฉัยพระวินัยได้ดี), อธิกรณสมุปปาทวูปสมกุสละ (ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น), ธัมมกามะ (ใคร่ในธรรม), สันตุฏฐะ (สันโดษ), ปาสาทิกะ (น่าเลื่อมใส), ฌานลาภี (คล่องในฌาน) และ อนาสวเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ สิ้นอาสวกิเลส
4. รู้แจ้งในไตรภูมิ
5. เป็นที่รักของพระ พรหม เทพยดาและมนุษย์ทั้งปวง
6. สอนคนให้เข้าใจถึงพระนิพพานได้จริง ตามมาตรฐานการปฏิบัติธรรมแห่งพระพุทธศาสนาครบถ้วนทั้ง 4 หมวด อันได้แก่
    6.1) สุกขวิปัสสโก ปฏิบัติธรรมแบบเรียบ ๆ มีมรรคมีผล แต่ไม่มีความรู้พิเศษ
    6.2) เตวิชโช หรือเรียกว่า วิชชา 3 มีมรรคมีผล และมีความรู้พิเศษคือ ทิพจักขุญาณ รู้ว่าคนเกิดมาจากไหน ตายไปไหน เป็นต้น มีญาณ 8 ประการ
    6.3) ฉฬภิญโญ หรือเรียกว่า อภิญญา 6 มีมรรคมีผล และมีความรู้พิเศษคือแสดงฤทธิ์ได้ 5 อย่าง หากหมดกิเลสด้วยจะเรียกว่าได้อภิญญา 6
    6.4) ปฏิสัมภิทัปปัตโต หรือเรียกว่า ปฏิสัมภิทาญาณ มีมรรคมีผล และมีความรู้พิเศษครอบคลุมทั้ง 3 หมวดแรก ปฏิสัมภิทาญาณนั้นคือ ทรงพระ
ไตรปิฎก(แตก ฉานในเหตุและผล), รู้ภาษาคนทุกภาษาและภาษาสัตว์ทุกชนิด และคล่องแคล่วในการสอนธรรม (ขยายความให้เข้าใจก็ได้ ย่อความให้เข้าใจก็ได้)
คำ กล่าวที่จารึกในแผ่นทองซึ่งบรรจุใต้แท่นพระประธาน เมื่อพ.ศ. 2519 ในแผ่นทองได้จารึกไว้ดังนี้ เราพระมหาวีระ มีพระราชานามว่า ภูมิพล เป็นผู้อุปถัมถ์ ร่วมด้วยพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ สร้างวัดนี้เป็นพุทธบูชา เมื่อศักราชล่วงไปแล้ว 2700 ปีปลาย จะมีพระเจ้าธรรมิกราช นามว่า ศิริธรรมราชา สืบเชื้อสายมาจากเชียงแสนและสุโขทัย ร่วมกับพระอรหันต์ จะมาบูรณะวัดนี้ สืบพระศาสนาต่อไป คณะของเราขอโมทนา แต่อยู่ช่วยไม่ได้ เพราะไปพระนิพพานหมดแล้ว
อีกทั้งท่านยังได้ตั้งสัตยาธิษฐานฝากลูก หลานของท่านไว้ดังนี้ ฉันขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมดและพระพรหม และเทพเจ้าทั้งหมด ขอทุกท่านจงกำหนดจิต จดจำลูกหลานของฉันไว้ ว่าบุคคลใดก็ตาม เมื่อเวลาจะตายขอให้สติสัมปัชัญญะสมบูรณ์ มีจิตน้อมไปในกุศลกรรม และขอให้ได้รับผลที่ฉันได้ทำไปแล้วทุกประการแก่ลูกหลานของฉันทุกคน เวลานี้ฉันมองดูแล้วนะ ตรวจดูแล้ว สิ่งที่ฉันต้องการมันสมใจนึกแล้ว ฉันมีความอิ่มใจบอกไม่ถูก ปลื้มใจที่ความปรารถนาสมหวัง ที่ฉันตั้งใจไว้นาน ปรารถนาไว้นานคิดว่าจะทำไม่ได้ แต่เวลานี้ทำได้แล้ว ลูกหลานของฉันทุกคน มีศรัทธาเป็นอจลศรัทธาแล้ว มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความดีพอสมควรแล้ว อุโบสถหลังใหม่นี้ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเกศมาลาของสมเด็จ พระ พุทธพรมงคล พระประธานในพระอุโบสถ, เททองหล่อรูปหลวงพ่อปาน และทรงตัดลูกนิมิตด้วย ในช่วงพ.ศ. 2518 - 2520
พระสงฆ์ที่หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้เคยสนทนา หรือเป็นสหาย ได้แก่
1. พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนันโท) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา :
ท่าน เป็นปฐมาจารย์ ผู้สั่งสอนเป็นองค์แรก สอนกรรมฐานทุกตอนจนถึงระดับนิพพาน และพยายามฝึกฝนให้จนมีความเข้าใจในการปฏิบัติกรรมฐานจนมี ความเข้าใจ
2. หลวงพ่อเล็ก เกสโร วัดดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : อาจารย์ที่สองรองจากหลวงพ่อปาน เป็นตัวแทนหลวงพ่อปาน ในการควบคุมดูแลในการปฏิบัติเบื้องต้นท่านอยู่วัดบางนมโค เช่นเดียวกัน
3. พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4. หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5. หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7. พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา :พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
8. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
9. หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
10. หลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
11. พระครูสุวรรณพิทักษ์บรรพต เจ้าคณะ 11 วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
12. สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จังหวัดกรุงเทพฯ
13. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม จังหวัดกรุงเทพฯ
14. ท่านเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง(ดอยม่อนเวียง) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
15. หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
16. หลวงพ่อทืม(หลวงพ่อบุญทืม พรหมเสโน) วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
17. พระครูสันติวรญาณ(หลวงพ่อสิม) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงดาว
18. พระครูพรหมจักสังวร (พระสุพรหมยานเถระ; ครูบาพรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน
19. พระครูภาวนาภิรัตน์ (พระสุธรรมยานเถระ; ครูบาอินทจักรรักษา) วัดวนาราม(วัดน้ำบ่อหลวง) อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
20. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
21. พระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา จังหวัดกรุงเทพฯ
22. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
23. พระครูวรเวทย์วิสิฐ (ครูบาธรรมชัย) วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
24. พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ - หลง) วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดกรุงเทพฯ
25. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
26. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผาติการาม จังหวัดกรุงเทพฯ 

ที่มา--oneclickmarket.com

27.9.11

ของกู ของสู....

ประวัติ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

 

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย 

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล วรรณวงศ์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคมมารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์จะเห็นได้ว่าเชื้อสายของท่านเป็นขุนนางทั้ง ฝ่ายบิดาและมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน ที่เรียกว่า ผู้ไทยซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว ในสมัยราชการที่สาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระอาจารย์ฝั้นเคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่าน ได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นครอบครัวใหญ่ เรียกว่า ไทยวัง หรือ ไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง อยู่ในเขตมหาชัย ของ ประเทศลาว)บิดาของท่านพระอาจารย์ เป็นคนที่มีความเมตตาอารีใจคอกว้างขวาง เยือกเย็นเป็นที่นับหน้าถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบ ครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัวไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ ที่มีลำห้วยอูน ผ่านทางทิศใต้และลำห้วยปลาหาง อยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และ เลี้ยงไหมตั้งชื่อว่า บ้านบะทอง โดยบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป...

 เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อยนิสัยใจคอเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี กว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดาและญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น ....


ด้าน การศึกษา พระอาจารย์ฝั้น ได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย)สอนโดย ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับพระอาจารย์ เมื่อครั้งนั้น เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมากสามารถเขียนอ่านได้รวดเร็ว กว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากครู ให้สอนเด็กอื่นๆแทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น 

  พระ อาจารย์ฝั้น เคยคิดจะเข้ารับราชการ จึงได้ตามไปอยู่กับ นายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมื่องฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปในชั้นสูงในช่วงนี้ ท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิง ไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปรามผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิตครั้งนั้น พี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ ท่านได้เห็นนักโทษหลายคน แม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคน นายวีระพงศ์ ปลัดซ้าย ก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่านเมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวา อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฆ่าคนตายเช่นกัน สภาพของนักโทษ ที่ท่านประสบมา มีทั้งหนักและโทษเบานับได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิตท่านได้สติ บังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงเลิกคิดที่จะรับราชการ และตัดสินใจบวชเพื่อสร้างสมบุญบารมีทางพระพุทธศาสนาต่อไป...




ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา 

ชีวิตสมณะของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคมและในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ถัดมา ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกายที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคมมีพระครูป้อง นนทะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์มีพระอาจารย์นวล และ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระอนุสาวนาจารย์ หลังจากออกพรรษาปีนั้น ท่านได้ไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทองจึงได้ปฏิบัติธรรม อบรมกัมมัฏฐาน ตลอดจนการออกธุดงค์ อยู่รุกขมูล กับท่านอาจารย์อาญาครูธรรม...

 ปีถัดมา ๒๔๖๓ ท่านได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตจึงได้เที่ยวธุดงค์ มาพร้อมด้วยสามเณรหลายรูป และพักที่ป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ (ปัจจุบันเป็นวัดภูไทสามัคคี)เมื่อได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น ท่านบังเอิญเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในสติปัญญา ควาสามารถ ของ พระอาจารย์มั่น จึงมอบตัวเป็นศิษย์ พร้อนท่านอาญาครูดี และพระครูกู่ ธมฺมทินฺโนเนื่องจากทั้งสามท่าน ยังไม่พร้อมในเครื่องบริขาร จึงไม่ได้ธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่นไปในขณะนั้น...

เมื่อทั้งสามท่าน ได้เตรียมพร้อม เครื่องบริขารเรียบร้อยแล้วประจวบกับได้พบ พระอาจารย์ดูลย์ อลฺโต ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นมาก่อน และกำลังเดินธุดงค์ ติดตามพระอาจารย์มั่นเช่นกัน...

พระ อาจารย์ฝั้น จึงศึกษาธรรม เรียนวิธีฝึกจิตภาวนาเบื้องต้น จากพระอาจารย์ดูลย์ จากนั้นทั้งสี่ท่าน ได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ดูลย์ เป็นผู้นำทาง จนได้พบพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างดินแดงท่านทั้งสี่ ได้ศึกษาธรรม กับ พระอาจารย์มั่น ที่นั่น เป็นเวลาสามวันจากนั้นก็ได้ไปกราบพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล (ผู้ได้ร่วมเผยแพร่ธรรมกับพระอาจารย์มั่น)ที่บ้านหนองดินดำ แล้วจึงไปรับการอบรมธรรม จากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมที่บ้านหนองหวายเป็นเวลาเจ็ดวันจากนั้นจึงได้ไปที่บ้านตาลเนิ้ง และ ได้รับฟังธรรมจาก พระอาจารย์มั่น เสมอๆ...

 เมื่ออาจารย์ฝั้นได้รับการศึกษาอบรม ธรรมะ จากพระอาจารย์มั่น และได้ฝึกกัมมัฏฐานจนจิตใจมั่นคงแน่วแน่ บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่งโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ มารบกวนได้ท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติ เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ...


ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษากับพระอาจารย์มั่นที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายร่วมกับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโนพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาจารย์กว่า สฺมโนออกพรรษาปีนั้น ท่านได้เดินเลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขง เที่ยวธุดงค์ออกไปหลายแห่ง วกกลับมายังวัดอรัญวาสี แล้วธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น ที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน(ปัจจุบัน อำเภอศรีสงคราม) ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้จำพรรษา และโปรดญาติโยม ที่ดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม...

 หลังออกพรรษา ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ร่วมกับหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น ไปอุบลฯด้วยในปี ๒๔๗๐ นี้ ท่านได้จำพรรษา ที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับพระอาจราย์กู่ เทศนาสั่งสอนญาติโยมที่นั่นพ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านได้ออกไปจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหารหลังออกพรรษา ท่านได้ไปเผยแพร่ธรรม ที่จังหวัดขอนแก่นได้จำพรรษาที่จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๓ ปี ระหว่างนั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้เลิกนับถือผีเลิกกลัวผีให้หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีลห้าและพระภาวนาพุทโธท่านเป็นที่พึ่งและให้ความอบอุ่นแก่ชาวบ้านทั่วไป คนคลอดลูกยาก คนไอไม่หยุด คนถูกผีเข้า คนมีมิจฉาทิฏฐิหลอกลวงชาวบ้านท่านช่วยเหลือแก้ไขด้วยอุบายธรรมะได้หมดสิ้น ท่านเองบางครั้งก็อาพาธ เช่น ระหว่างที่จำพรรษาบนภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นท่านปวดตามเนื้อตามตัวเป็นอย่างมาก ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ โดยนั่งภาวนาในอิริยาบทเดียวตั้งแต่ทุ่มเศษ จนเก้าโมงเช้า ทำให้อาการอาพาธหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมานและให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย...

ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๖๘ พรรษาที่ ๘ ถึง ๑๙ ท่านได้จำพรรษาที่ จังหวัดนครราชสีมา โดยตลอดแต่ในระหว่างนอกพรรษา ท่านจะท่องเที่ยวไปเผยธรรมและตัวท่านเอง ก็ได้ศึกษาและปฏิบัติด้วย เช่น ก่อนเข้าพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์สิงห์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมอาการ ของ เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโน)โดยพักที่ วัดบรมนิวาส เป็นเวลา๓ เดือนเมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านได้ออกธุดงค์ไปในดงพญาเย็นท่านได้พบเสือนอนหันหลังให้ ในระยะที่ใกล้มาก ท่านสำรวมสติเดินไปใกล้ๆมันแล้วร้องถามว่า "เสือหรือนี่" เจ้าเสือผงกหัว หันมาตามเสียง แล้วเผ่นหายเข้าป่าไป เมื่อเดือน ๓ พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อนได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น ที่วัดเจดีย์หลวงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้อยู่ใกล้พระอาจารย์มั่น ท่านจึงได้เร่งความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน เล่ากันว่า ท่านทั้งสอง ต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิ ได้โดยตลอด ทั้งๆที่ กุฏิห่างกัน เป็นระยะทางเกือบ ๕๐๐ เมตร...

 ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๖ พระอาจารย์ฝั้น ได้ออกเดินธุดงค์ จาก วัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขาที่เห็นว่า สงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้ และขณะเดียวกัน ก็สั่งสอนธรรมะ ช่วยเหลือชาวบ้าน ที่มีความทุกข์ยาก และ พาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นท่านธุดงค์ไปเขาพนมรุ้ง ต่อไปจังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งถึง จังหวัดอุบลราชธานีโดยจำพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่วัดบูรพา ที่จังหวัดอุบลราชธานี นี้เองพระอาจารย์ฝั้น มีหน้าที่เข้าถวายธรรม แก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งกำลังอาพาธ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคชรา)และใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพร รักษาโรคปอดแก่ท่านอาจารย์มหาปิ่นจนกระทั่งออกพรรษาปีนั้น ทั้งสมเด็จฯ และ พระอาจารย์มหาปิ่น มีอาการดีขึ้น...

ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง ๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษา ที่วัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเดิมชื่อวัดป่าธาตุนาเวงเป็นป่าดงดิบ ห่างจากตัวเมือง ห้ากิโลเมตรเศษท่านได้นำชาวบ้าน และ นักเรียนพลตำรวจ พัฒนาวัดขึ้น จนเป็นหลักฐานมั่นคงในพรรษ าท่านจะสั่งสอนอบรม ทั้งศิษย์ภายใน (คือพระเณรและผ้าขาว)และศิษย์ภายนอก (คืออุบาสก อุบาสิกา) อย่างเข้มแข็ง ตามแบบฉบับ ของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นทุกวันพระ พระเณรต้องฟังเทศน์ แล้วฝึกสมาธิ และเดินจงกรมตลอดทั้งคืนอุบาสก อุบาสิกาบางคน ก็ทำตามด้วย ช่วงออกพรรษา ท่านก็มักจะจาริกไปกิจธุระ หรือ พักวิเวกตามที่ต่างๆ เช่น บริเวณเทือกเขาภูพาน เป็นต้น ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านไปวิเวกที่ภูวัง และได้สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผา ที่สวยงามาก ออกพรรษา ปีพ.ศ. ๒๔๙๒ ได้ติดตาม พระอาจารย์มั่น ถึงวัดสุทธาราม ที่สกลนครและเฝ้าอาการพระอาจารย์มั่น จนแก่มรณภาพ ออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๙๕ ท่านได้ออกไปเผยแพร่ธรรมแถวภาคตะวันออก เช่นที่ จันทบุรี บ้านฉาง(จ.ระยอง) และฉะเชิงเทราในระหว่างนั้น ก็แวะเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆด้วย เช่น ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯและวัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เป็นต้น ...

ราวกลางพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารภกับศิษย์ทั้งปวงเสมอว่าท่านได้นิมิตเห็น ถ้ำแห่งหนึ่ง ทางตะวันตก ของเถือกเขาภูพาน เป็นที่อากาศดี สงบ และ วิเวกพอออกพรรษาปีนั้น เมื่อเสร็จธุระกิจต่างๆ แล้ว ท่านได้พาศิษย์หมู่หนึ่ง เดินทางไปถึงบ้านคำข่าพักอยู่ในดงวัดร้าง ข้างหมู่บ้าน เมื่อคุ้นกับชาวบ้านแล้ว ท่านได้ถามถึงถ้ำในนิมิต ในที่สุด ชาวบ้านได้พาท่านไปพบกับถ้ำขาม บนยอดเขายอดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่น่าพอใจของท่านมากเพราะเป็นที่วิเวกจริงๆ ทิวทัศน์สวยงาม มองเห็นถึงจังหวัดสกลนครอากาศดี สงัด และ ภาวนาดีมาก...

ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านพระอาจารย์ ได้ลงไปพักที่วัดป่าอุดมสมพรเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และ เพื่อจะได้สั่งสอนอบรมชาวบ้านพรรณา อำเภอพรรณานิคม บ้างวัดป่าอุดมสมพรนี้ เดิมเป็นป่าช้าติดกับแหล่งน้ำ ชื่อหนองแวงที่บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่านท่านเคยธุดงค์มาพักชั่วคราว เพื่อบำเพ็ญกุศล ทักษิณานุประทานแด่บุพการีครั้งเมื่อออกพรรษา ปี ๒๔๘๗ พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และ พระอาญาครูดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งนั้น ก็ได้มีพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษามาโดยตลอดจนกระทั่งได้เป็นวัดป่าอุดมสมพร...

 ด้วยนิสัยนักพัฒนา ช่วงที่พักที่วัดป่าอุดมสมพร (๒๕๐๕)ท่านอาจารย์ได้นำญาติโยม พัฒนาเส้นทาง จากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ ไปจนถึงบ้านหนองโคกท่านไปประจำอยู่กับงานทำถนน ทั้งวัน อยู่หลายวัน จนอาพาธเป็นไข้สูงแพทย์จึงได้ขอร้อง ให้ท่านงดขึ้นไปจำพรรษา บนถ้ำขาม เพราะสมัยนั้น ยังต้องเดินขึ้นดังนั้น ท่านจึงจำพรรษา ปี ๒๕๐๖ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์...

ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จนถึงพรรษาสุดท้ายของท่าน คือ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาที่ วัดป่าอุดมสมพร โดยตลอด จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย ท่านได้พัฒนาวัดนั้นเป็นการใหญ่ มีการขุดขยายหนองแวง ให้กว้าง และ ลึก เป็นการใหญ่สร้างศาลาใหญ่ เป็นที่ชุมนุม สำหรับการกุศลต่างๆ สร้างกุฏิ โบสถ์น้ำ พระธาตุเจดีย์ถังเก็บน้ำ และ ระบบท่อส่งน้ำถึงแม้ท่านจะจำพรรษาที่ วัดป่าอุดมสมพร แต่วัดถ้ำ และ วัดป่าภูธรพิทักษ์ ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบ และ อปการะของท่าน ท่านยังคงไปๆมาๆ ด้วยความห่วงใยอยู่เสมอเมื่อวันที ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ และได้ทรงนิมนต์ท่าน เข้าไปพักที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนเดียวกัน อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างที่พักใน วัดบวรฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียน และ สนทนาธรรมกับท่าน นอกจากนั้น ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนท่าน ที่วัดป่าอุดมสมพร เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ อีกด้วย....

ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ด้วยอาการสงบ...

ท่านพระอาจารย์ เป็นผู้มีระเบียบวินัย สมกับที่ท่าน สืบตระกูลมาจากผู้สูงศักดิ์ นอกจากนั้น ท่านยังมีความขยันหมั่นเพียรอย่างเอกอุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนาการอบรมสั่งสอนศิษย์ หรือการก่อสร้างอาคาร ถนนหนทางท่านถือเอาการงาน และหน้าที่ เป็นเรื่องสำคัญข้อแรก ส่วนความสะดวกสบายนั้น เป็นข้อรองและท่านปฏิบัติเช่นนี้ โดยสม่ำเสมอมา ตั้งแต่หนุ่มจนถึงวัยชรา คุณประสพ วิเศษศิริ เล่าถึงกิจวัตรประจำวันตามปกติของท่านพระอาจารย์ฝั้น จากประสบการณ์ที่ได้บวชในช่วงปี ๒๕๑๒ ที่วัดป่าอุดมสมพรไว้ในหนังสืออนุสรณ์อายุครบ ๖๐ ปีของคุณประสพเองว่า...


๐๓.๐๐ น. ท่านจะพระอาจารย์ตื่น พระและเณร ผลัดเปลี่ยนเวรกัน ถวายน้ำบ้วนปาก และ ล้างหน้า เสร็จแล้ว ท่านก็นั่งภาวนาบนกุฏิชั้นบน 

๐๔.๐๐ น. พระและเณรทั้งวัด ตื่นทำความสะอาดร่างกาย และ นั่งภาวนา  

๐๕.๐๐ น. จัดบาตรลงศาลา กวาดถู จัดที่นั่งฉัน ตั้งกระโถนกาน้ำฯ 

๐๖.๐๐ น. เตรียมบาตร ซ้อนผ้าคุลม ยืนรอท่านอาจารย์ใหญ่ท่านจะนำบิณฑบาตรทุกๆเช้า ท่านอาจารย์ไม่เคยขาดการบิณฑบาตรเลยมาระยะหลังๆ ท่านอาพาธ ก็ยังพยายามบิณฑบาตรในวัดพระและเณรทุกๆรูป ก็ต้องออกบิณฑบาตร เป็นกฏของวัดนอกเสียจากรูปใด เร่งความเพียรตั้งสัจจะ ว่าจะไม่ฉันอาหาร จึงไม่ต้องบิณฑบาตรในวันที่ไม่ฉัน 

๐๗.๐๐ น. ถึงวัด

๐๘.๐๐ น. เริ่มฉัน และฉันในบาตรโดยวิธีสำรวม พระ เณร ผ้าขาว ฉันเหมือนกันหมด อาหารอย่างเดียวกัน จนตลอดแถว

๐๙.๐๐ น. ฉันอาหารเสร็จ เป็นอันว่า เสร็จเรื่องการฉันไปหนึ่งวันเพราะกฏของวัด ฉันเพียงมื้อเดียว ท่านอาจารย์ยังคงรับแขก ญาติโยมบนศาลาจนกว่า ท่านจะเห็นสมควรขึ้นกุฏิ ส่วนพระเณรอื่นๆ นอกจากรูปไหน ที่เป็นเวร คอยรับใช้ปรนนิบัติท่านก็ช่วยกันเก็บกวาดอาสนะให้เรียบร้อย และนำบาตร กระโถน กาน้ำ แก้วน้ำ ไปล้างสำหรับบาตรต้องรักษาให้ดียิ่ง ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วไปเปิดฝา ผึ่งแดด บนระเบียงกุฏิ 

๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๑.๐๐ น. เดินจงกรม 

๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

๑๒.๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. นั่งภาวนา สาธยายหนังสือสวดมนต์ ทบทวนพระปาฏิโมกข์หรือไม่ก็ เดินจงกรม สุดแต่อัธยาศัย แต่ข้อสำคัญที่สุด ก็คือ ห้ามคุยกันเล่น ไม่ว่าเวลาไหน

๑๕.๐๐ น. ตีระฆังลงศาลา ฉันน้ำปานะ โกโก้ กาแฟ หรือน้ำอัดลม ตามแต่ศรัทธาของเขาจัดถวาย 

๑๕.๓๐ น. พระเณรทุกรูป ลงปัดกวาดลานวัดเสร็จแล้ว ทำความสะอาดส้วม และตักน้ำใส่ห้องส้วมให้เต็มทุกห้อง

๑๗.๐๐ น. ผลัดเปลี่ยนกันไปสรงน้ำพระอาจารย์ใหญ่ที่ไม่ได้รับเวรสรงน้ำอาจารย์ใหญ่ ก็ไปสรงน้ำตามกุฏิของตนเสร็จแล้วไปคอยอาจารย์ใหญ่ อยู่บนกุฏิของท่าน เพื่อรับการอบรมจากท่านต่อไปเมื่อท่านอบรมแล้ว ใครมีปัญหา เป็นต้นว่า ภาวนาเห็นนิมิตอะไร หรือสงสัยปัญหาธรรมอะไรขัดข้องตรงไหน จะเรียนถามท่านได้ ท่านจะคลายปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน 


๑๙.๐๐ น. ตีระฆัง ทำวัตรเย็น (สวดมนต์เย็น) โดยอาจารย์ใหญ่ ท่านจะเป็นผู้นำไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว ท่านจะแสดงธรรมโปรด....และนำนั่งสมาธิต่อ จนถึงเวลา ๒๓.๐๐ น บางครั้งก็ถึง เวลา ๒๔.๐๐ น ถ้าเป็นวันพระ จะประชุมฟังธรรม จนสว่าง แต่ท่านจะหยุดพักเป็นระยะๆ เมื่อเหนื่อย ก็อนุญาตให้พักเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำ และฉันน้ำเสร็จแล้ว ก็เดินจงกรมต่อ สำหรับอาจารย์ใหญ่ ท่านจะไม่ลงจากศาลา จนรุ่งเช้าสว่างแล้ว ก็แยกย้ายกันกลับกุฏิของตน ใครจะเดินจงกนมต่อ หรือจะทำกิจวัตรสุดแต่อัธยาศัย


ธรรมโอวาท

          ธรรม โอวาทของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรได้รับการรวบรามโดย คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้รวบรวม ไว้ใน หนังสืออนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็น พระธรรมเทศนา กัณฑ์ใหญ่ ว่าด้วย "พระอภิธรรมสังคินี มาติกา "เป็นงานประพันธ์ของพระอาจารย์ สมัยยังเป็นยังหนุ่มและท่านได้เขียนไว้ด้วย "อักษรธรรม" เป็นลายทือของท่านเอง งดงามมาก ส่วนที่สองเป็นพระธรรมเทศนา (อาจาโรวาท) ที่ท่านแสดงให้ฟังและมีผู้จดจำหรืออัดเทปไว้ ในส่วนนี้มีทั้งหมด ๑๕ กัณฑ์ ในที่นี้ จะยกมาเฉพาะบางส่วน ในอาจาโรวาท เล่มที่ ๘ ดังนี้

          บุญ กุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวางผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มากผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อยมัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกลแปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้วเราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยากของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ

          ศีล บารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโษ ม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯอันนี้ก็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา  เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ

          เหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนไว้ ให้ละเว้นโทษที่เราไม่พึงปรารถนาเช่น อทินนาทาน การขโมยอย่างนี้หละ เขามาขโมยของ ขโมยเล็กขโมยน้อยของเรา เราก็ไม่อยากได้หรือโจรปลันสะดมอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ท่านจึงให้ละถ้าเราไม่ได้ขโมยของใคร ไม่ว่าในภพใดภพหนึ่ง เราก็ไม่ถูกโจรไม่ถูกขโมย ไม่มีร้ายไม่มีภัยอะไรสักอย่าง เราละเว้นแล้ว โจรทั้งหลายก็ไม่มี โจรน้ำ โจรไฟ โจรลมพายุพัด ก็ไม่มี นี่เป็นอย่างงั้นกาเม ก็เช่นเดียวกัน เกิดมามีสามีภรรยา มีบุตร รองดองกัน อันเดียวกัน เกิดคนมาละเมิดอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ว่ายากสอนยาก หรือทะเลาะเบาะแว้งกัน เราก็ไม่อยากได้ ถ้าเราละเว้นโทษกาเมนี้แล้ว มันก็ไม่มีโทษหละมุสาวาทา ก็พึงละเว้น มีคนมาฉ้อโกงหลอกลวงเรา เราก็ไม่อยากได้คิดดูซี เราไปหลอกลวงฉ้อโกงเขา เขาก็ไม่อยากได้ เช่นเดียวกัน นี่หละ พระพุทธเจ้าท่านจึงได้ละเว้น มันเป็นโทษ คนไม่ปรารถนาถ้าเรารักษาศีลนี้แล้ว เราก็สบาย ไปไหนก็สบายซี่ ไม่มีโทษ เหล่านี้แล้วสุรา การมึน การเมา เราละกันแล้ว เราก็ไม่อยากได้ ภรรยาขี้เมา สามีขี้เมา ลูกขี้เมาพ่อแม่พี่น้องขี้เมา เราก็ไม่อยากได้ เมื่อไม่มีเมาแล้ว จะทะเลาะเบาะแว้งกันที่ไหนเล่า เกิดมากรรมให้โทษ เช่น คนเป็นใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์ เป็นลมบ้าหมู เราก็ไม่อยากได้หูหนวกตาบอด เป็นใบ้ อย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ขี้ทูดกุดถัง กระจอกงอกง่อยเป็นคนไม่มีสติปัญญา เราก็ไม่อยากได้ พระพุทธเจ้าจึงได้ละเว้นโทษเหล่านี้เมื่อเราทั้งหลายละเว้นแล้ว เราไปไหน ก็อยู่เย็นเป็นสุขสนุกสบายฉะนี้เมื่อเราสมาทานศีล พระท่านจึงบอกว่า สีเลน สุคติ ยนฺติ ผู้ละเว้นแล้วมีความสุขสีเลน โภคสมฺปทา เราก็มีโภคสมบัติ ไปในภพไหนก็ดี ในปัจจุบันก็ดีเป็นคนไม่ทุกข์เป็นคนไม่จน ด้วยอำนาจของศีลนี้สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ จะไปพระนิพพาน ก็อาศัยศีลนี้เป็นต้น

          ต่อ ไปนี้จะให้ทำบุญโดยเข้าที่ภาวนา นั่งดูบูญดูกุศลของเราจิตใจมันเป็นยังไง ดูให้มันรู้มันเห็นซี่ อย่าสักแต่ว่า สักแต่ทำ เอาให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์ซี่เราต้องการความสุขสบาย แล้วมันได้ตามต้องการไหม เราก็มาฟังดูว่าความสุขความสบายมันอยู่ ตรงไหนเราก็นั่งให้สบาย วางกายของเราให้สบาย วางท่าทางให้สง่าผ่าเผยยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อกายเราสบายแล้ว เราก็วางใจให้สบาย รวมตาเข้าไปหาดวงใจ หูก็รวมเข้าไป เมื่อใจสบายแล้ว นึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์อยู่ในใจเรเชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว จึงให้นึกคำบริกรรมภาวนา ว่า " พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ" สามหนแล้วเอาคำเดียว ให้นึกว่า "พุทฺโธ พฺโธ " หลับตา งับปากเสีย ตาเราก็เพ่งเล็ง ดูตำแหน่งที่ระลึกพุทโธนั่น มันระลึกตรงไหน หูเราก็ไปฟังที่ระลึกพุทโธนั่นสติเราก็จ้องดูที่ระลึก พุทโธ พุทโธ จะดูทำไมเล่า ดูเพื่อให้รู้ว่า ตัวเรานี่เป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่วจิตของเราอยู่ในกุศล หรือ อกุศลก็ให้รู้จ ถ้าจิตของเราเป็นกุศล มันเป็นยังไงคือ จิตมีความสงบ มันไม่ส่งหน้า ส่งหลัง ส่งซ้าย ส่งขวา เบื้องบน เบื้องล่าง ตั้งอยู่จำเพาะท่ามกลางผู้รู้ มันมีใจเยือก ใจเย็น ใจสุข ใจสบายจิตเบา กายมันก็เบา ไม่หนักไม่หน่วงไม่ง่วงไม่เหงา หายทุกข์ หายยาก หายความลำบาก รำคาญ สบายอกสบายใจ นั่นแหละตัวบุญตัวกุศลแท้ นี้จะได้เป็นบุญเป็นบารมีของเรา เป็นนิสัยของเรา ติดตนนำตัว ไปทุกภพทุกชาติ นี่แหละให้เข้าใจไว้ จิตของเราสงบเป็นสมาธิ คือ กุศล อกุศลเป็นยังไง คือ จิตเราไม่ดี จิตทะเยอทะยาน จิตดิ้นรนพะวักพะวง จิตทุกข์ จิตยาก จิตไม่มีความสงบ มันเลยเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรม อกุศลธรรม อันนี้ว่าเป็นกรรมในศาสนาท่านว่า กรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในที่อื่น กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมนั้นเป็นของๆ ตนกลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหริอเป็นบาป เราจะได้นับผลของกรรมนั้นสืบไปเราจะรู้ได้อย่างไง กุศลกรรม พิจารณาดูซี่ กรรมทั้งหลายมันไม่ได้อยู่อื่นกายกรรม แน่ะ มันอยู่ในกายของเรานี้ มันเกิดจากกายของเรานี้ วจีกรรม มันเกิดจากวาจาของเรานี้ ไม่ได้เกิดจากอื่นไกล มโนกรรม มันเกิดจากดวงใจของเรานี้แหละ ให้รู้จักไว้ต่อไปเราไม่ต้องสงสัยว่า กรรมมันมาจากไหน ใครเป็นผู้ทำล่ะเดี๋ยวนี้เรารู้ เราเป็นผู้ทำเอง ไม่ใช่เทวบุตรเทวดาทำให้ เราทำเอาเองที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้หละ เราทำบุญบุญอันนี้ เป็นอย่างเลิศประเสริฐแท้คือเราให้ทานร้อยหน พันหน ก็ตาม อานิสงส์ไม่เท่าเรานั่งสมาธินี้มีผลานิสงส์ เหมือนทำบุญอย่างที่สุดแล้ว



ปัจฉิมบท


          เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ฝั้น ยังเป็นสามเณรอยู่นั้นท่านได้เอาใจใส่ศึกษาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็น อันมากถึงขนาดคุณย่าของท่าน ได้พยากรณ์ไว้ว่า "ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าขมิ้นตลอดชีวิต ระหว่างนั้น จะสร้างแต่คุณความดีอันประเสริฐเลิศล้ำค่า จะเป็นผู้บริสุทธิ์ผ่องใสประชาชนทุกชั้น ตั้งแต่สูงสุดจนต่ำสุด ทุกเชื้อชาติศาสนา ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่านจะบังเกิดความเลื่อมใสในตัวท่าน แล รสพระธรรมที่ท่านเทศนาเป็นอันมาก" คำพยากรณ์ของคุณย่าของท่าน มิได้ผิดเพี้ยนความจริงเลย เมตตาธรรม และ คุณความดีของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาสานุศิษย์ และ บรรดาสาธุชนโดยทั่วไป

          ความ เมตตาของท่านพระอาจารย์ แสดงออกตั้งแต่การให้ของเล็กๆน้อยๆ หรือการยอมทำตามคำขอร้องง่ายๆ ขึ้นไปจนถึงการให้ของที่สำคัญๆ และการกระทำที่ยากๆ แม้จนกระทั่งสิ่งที่ท่านเองไม่อยากกระทำ แต่ถ้าถึงขีดที่เป็นการผิดพระวินัย ท่านจะไม่ยอมเป็นอันขาด คุณหมออวย ได้เล่าไว้ใน หนังสืออรุสรณ์งานศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ ตอนที่ ๘ กรุณามหณณโว ความว่า " ผู้เขียนเคยเห็นครั้งหนึ่ง มีพระอธิการ จาก วัดหนึ่ง ในจังหวัดอื่นมาขออนุญาตทำของอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อเอาไปให้เช่าหารายได้ปรับปรุงวัดพยายามอ้อนวอนเท่าไรๆ ท่านก็ไม่ยอม เพราะท่านขัดข้องต่อการขายสิ่งมงคลต่างๆ ทั้งสิ้นนอกจากไม่อนุญาตแล้ว ท่านยังว่ากล่าวตักเตือน ให้สังวรในพระวินัยให้เคร่งครัดซึ่งเป็นการแสดงเมตตาอีกแบบหนึ่ง คือช่วยไว้ให้พ้นจากอบายภูมิ

          ตัวอย่าง ความเมตตาของท่านมีอีกมากมายแทรกอยู่ในประวัติของท่านทุกๆ ตอนไม่สามารถจะกล่าวได้หมดสิ้น จะขอยกมาเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อย เช่น

          ช่วง ที่ท่านพำนักอยู่ในป่าริมห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ ได้มีพุทธบริษัทเลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก ผู้คนพากันไปฟังพระธรรมเทศนาและรับการอบรมจากท่านอย่างเนืองแน่นมิได้ขาด เมื่อท่านได้ทราบถึงความเจ็บป่วยของชาวบ้านบางคนท่านได้ให้ลูกศิษย์หา เครื่องยามาประกอบเป็นยาดองโดยมีผลสมอเป็นตัวยาสำคัญ กับ เครื่องเทศ อีกบางอย่างปรากฏว่า ยาดองที่ท่านประกอบขึ้นคราวนั้น มีสรรพคุณอย่างมกาศาลแก้โรคได้สารพัด แม้คนที่เป็นโรคท้องมาน มาหลายปี รักษาที่ไหนก็ไม่หายพอไปฟังพระธรรมเทศนา รับพระไตรสรณคมน์ และรับยาดองจากท่านไปกินเพียง ๓ วัน โรคก็หาย ดังปลิดทิ้ง แม้คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็เช่นกัน ชาวสุรินทร์ ถึงกับขนานนามท่านว่า "เจ้าผู้มีบุญ"

          ช่วง เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนครเกิดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล บางบ้านกลัวอดข้าวเพราะทำนาไม่ได้ จึงไปปรารภกับท่านท่านจึงได้แนะนำให้รักษาศีลให้เคร่งครัดโดยพร้อมเพรียงกัน ท่านกล่าวว่า หากยึดมั่นในพระรัตนตรัย แล้วจะไม่อดตายอย่างแน่นอนกุศลความดีทั้งหลายจะรักษาผู้ปฏิบัติชอบเสมอบรรดา ญาติโยมทั้งหลาย ต่างพากันเข้าวัดปฏิบัติ ถือศีลห้า ศีลแปดกันอย่างมั่นคง ต่อมาวันหนึ่ง พระอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ปูเสื่อบนลานวัดกลางแจ้ง ท่านพร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป สามเณร ๒ รูป นั่งสวดคาถาท่ามกลางแสงแดดจ้า ไปได้ประมาณครึ่งชั่วโมงท้องฟ้าที่กำลังมีแดดจ้า พลันมีเสียงฟ้าคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆ กับมีฝนเทลงมาอย่างหนักท่านให้พระและเณรหลบฝนไปก่อน ส่วนตัวท่านเอง ยังคงนั่งอยู่ที่เดิมอีกนาน จึงได้ลุกไปฝนตกหนักเกือบ ๓ ชั่วโมง เมื่อฝนหยุด แล้วท้องฟ้าก็แจ่มใสดังเดิมปีนั้น ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง 

          จาก ถ้อยคำของผู้ที่เคยเป็นศิษย์ ท่านเป็นอาจารย์ที่เข้มงวดกวดขันมาก คอยเคี่ยวเข็ญพระเณร ตลอดจนผ้าขาว ให้ปฏิบัติภาวนาโดยเข้มแข็งเสมอถ้าใครเกียจคร้านหรือเหลาะแหละ ท่านก็จะว่ากล่าวตักเตือนเช่นว่าบวชแล้ว อย่าให้ชาวบ้านเปลืองข้าวเปล่าๆ หรือว่า พระกรรมฐานเป็นพระนั่ง ไม่ใช่พระนอน เป็นต้นถ้าใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านก็ชมเชยและเอาใจใส่ อบรมเป็นพิเศษ เพื่อที่จะได้ก้าวหน้าไปไกลยิ่งขึ้นอีก

          ท่านพระ อาจารย์ฝั้น เป็นนักปฏิบัติธรรม เป็นนักพัฒนา เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีสติปัญญาล้ำเลิศ มีความรู้กว้างขวาง และมีปฏิภานไหวพริบฉลาดเฉลียวจะเห็นได้จาก ในประวัติของท่าน ท่านมักจะได้รับมอบหมาย ให้ไปตัดสินปัญหาพิจารณาความเป็นธรรมอยู่เนืองๆ เช่น กรณีแก้มิจฉาทิฏฐิของไท้สุขกรณีแก้วิปัสนูปกิเลสของแม่ชีตัด กรณีระงับเหตุการณ์ไม่สงบที่วัดเทพนิมิตร จังหวัดฉะเชิงเทราและการได้รับบัญชาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้อยู่ใกล้ชิด และคอยแนะนำ เรื่องภาวนา ที่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น 

          การ พัฒนาทางวัตถุของท่าน มีให้ห็นมากมาย ท่านได้ก่อตั้ง และบูรณะวัด ให้มีหลักฐานมั่นคงหลายวัด เช่น วัดป่าศรัทธาธรรม วัดป่าโยธาประสิทธิ์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม และวัดป่าอุดมสมพร ส่วนถาวรวัตถุอื่นๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ก็มีมากมายเช่น ถนนสายบ้านคำข่า-บ้านไร่ ถนนสายบ้านม่วงไข่-บ้านหนองโคก สะพานข้ามห้วยทรายเขื่อนกั้น้ำอูน ตึกพิเศษสงฆ์ ที่โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

          ตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาก็คือในระหว่างพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านจำพรรษาบนถ้ำขาม ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาบนไหล่เขาช่วงใกล้จะถึงยอดเขาถ้ำขาม มีที่ค่อนข้างราบอยู่ประมาณครึ่งไร่ ซึ่งมีดินขังอยู่ระหว่างก้อนหิน ท่านให้ชาวบ้านถางหญ้า แล้วหาหน่อกล้วยมาปลูกชาวบ้านหลายคนคัดค้านว่า ที่อย่างนั้นปลูกกล้วยไม่ขึ้น เอามาปลูกก็เสียเวลาเสียของเปล่าๆ แต่ท่านพระอาจารย์บอกว่า ไปหามาปลูกแล้วกัน ขึ้นหรือไม่ขึ้น ก็จะรู้เองพอปลูกแล้ว ก็งอกงามเป็นป่ากล้วย และยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ท่านถือป่ากล้วยเป็นบทเรียนสำหรับชาวบ้าน ให้เห็นว่า การลงความเห็นว่าอ้ายโน่นทำไม่ได้ อ้ายนี้ทำไม่ได้ โดยไม่พยายามลองดูนั้น คือความโง่ และความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์และยากจน ส่วนความสนใจใคร่ทดลองทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ แม้ไม่เคยทำมาก่อน เป็นความฉลาดและขยัน จะนำไปสู่ความสุขและความร่ำรวย ในปัจจุบันที่ตรงนั้น มีทั้งกล้วย มะม่วง และขนุน เป็นที่อาศัยของพระเณรและลูกศิษย์ในบางโอกาส พวกลิงก็แห่กันมาเป็นฝูงๆ เพื่อขอแบ่งไปบ้าง

          อนุสรณ์ สถาน ที่ถือว่าสำคัญที่สุด ของอาจารย์ฝั้นน่าจะเป็น วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งห่างจากตัวเมือง สกลนคร ราว ๓๔ กม.เป็นที่ที่ท่านได้จำพรรษาช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นเวลากว่า ๑๒ ปี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ แล ะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านที่นี้เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑ ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพ ได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร องค์พระเจดีย์สูง ๒๗.๙ เมตร ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมยอดแหลมบรรจุพระอัฐิและพระอังคารพระอาจารย์ฝั้น ที่ส่วนยอดเจดีย์ ฐานของพระเจดีย์เป็นรูปซุ้มโดยรอบ ลดหลั่นกันลงมาเป็น ๓ ชั้นซึ่งซุ้มชั้นล่าง หมายถึงศีล ชั้นกลางหมายถึงสมาธิ และชั้นยอดหมายถึงปัญญาในองค์พระเจดีย์ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องบริขารของท่านตรงเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของ ท่านลาน

          ชั้น ล่างรอบองค์เจดีย์ จัดเป็นลานพระธรรม มีซุ้มโดยรอบ ๕๖ ซุ้ม ถ้ามองจากภายในลาน จะมีหินจารึกคำสอนธรรมะของท่าน ติดอยู่บนหลังซุ้มหากมองจากภายนอก จะเป็นซุ้มแสดงประวัติของท่าน ซึ่งประดับด้วยปติมากรรมดินเผาเป็นเรื่องราว ตั้งแต่ท่านถือกำเนิด มาบวชเรียน จนถึงมรณภาพ บริเวณโดยรอบ เป็นป่าอันเงียบสงบ ร่มรื่น อันเป็นบรรยากาศของการปฏิบัติภาวนาโดยเฉพาะ

          พระคุณของท่านพระอาจารย์ฝั้น ไม่อาจจะบรรยายให้หมดสิ้นได้

          เจริญรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์ โดยประการทั้งปวง ดั่งในโคลงดั้นวิวิธมาลี

          "อาจารศิรวาท" พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งความว่า

            ใครเอยเคยกอบเกื้อ เอาภาร


          แนะเรื่องประเทืองหทัย ทุกข์กั้น


          เสาะแสวงสิทธิศานต์ สุขทั่ว

          "อาจาร"ท่านเดิม "ฝั้น"ตั้ง ต่อนาม



cradit---vcharkarn.com


คนมีธรรม