(โดยสมเด็จองค์ปฐม)
ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน
แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อดังนี้
ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด
จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุด
จากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้น
แล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำ เมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา
ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ''บ้า'' อีก
ท่าน หนึ่งพูดว่า ''ทะลึ่ง'' ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรม และวจีกรรม ทั้งคู่)
สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อ ๆ)
ดังนี้
๑. ''เหตุที่จิตมีอุปทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าว
เป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิตที่ยึดเอาอุปทานนั้น ๆ
(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา)
ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคน
มาแล้วจับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มี
อารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
มีอารมณ์พอใจสนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น
ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรม อันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้
กล่าวคือ จะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย
และปลานั้น กลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก
นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด
เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น
''วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง''
๒. ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรม หรือ วจีกรรม
ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด
ในโลกนี้มัน เป็นวัฎจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วน ๆ''
๓. '' ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน
จากคนที่เป็นปลาก็ต้องตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรม หรือ กรรมของผู้อื่น
อันสืบเนื่องเป็นสันตติ ประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
แล้วพวกเจ้าจักเอาชาติไหนมาตัดสินว่า ใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้
เพราะกิเลส-ตัญหา-อุปทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุทำให้จิตของคนกระทำกรรม
ให้เกิดแก่มโน-วจี และกายได้อยู่เป็นอาจิณ''
๔. ''เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิด
ก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้
ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้
ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น
จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่ก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก''
๕. '' เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด
ค่อยๆวาง ค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ
กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือ
กฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆ เข้ามรรคผล ก็จะปรากฎขึ้นเอง
อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรม
ให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนตลอดเวลาอยู่กับจิต
ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้นๆ กรรมใดกรรมมัน
พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆ มาตำหนิเลว เพราะเท่ากับมีอุปาทานเห็น
กรรมนั้นๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้ง
ไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก ''
๖. " ถ้าบุคคลที่ไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่า ต่อขานคนที่จับ
ปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน
จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันเข้าไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน
สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไป
ด้วยความหมั่นไส้เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน
ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก
ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม
ก็ต้องยุติลง ใช้ ศีล-สมาธิ-ปัญญา อันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงใน
สันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฏของกรรม
โทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าเข้าไปมีหุ้นส่วน
กรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรม เป็นอันขาด จำไว้นะ ''
ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง
เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่ผู้หนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุง
ในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท
บอกว่า ฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงนั้นว่า อะไรกัน คนมา
ปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่ง
ตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน
กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและ วจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย
๒. ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรม หรือ วจีกรรม
ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด
ในโลกนี้มัน เป็นวัฎจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วน ๆ''
๓. '' ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน
จากคนที่เป็นปลาก็ต้องตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรม หรือ กรรมของผู้อื่น
อันสืบเนื่องเป็นสันตติ ประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
แล้วพวกเจ้าจักเอาชาติไหนมาตัดสินว่า ใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้
เพราะกิเลส-ตัญหา-อุปทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุทำให้จิตของคนกระทำกรรม
ให้เกิดแก่มโน-วจี และกายได้อยู่เป็นอาจิณ''
๔. ''เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิด
ก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้
ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้
ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น
จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่ก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก''
๕. '' เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด
ค่อยๆวาง ค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ
กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือ
กฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆ เข้ามรรคผล ก็จะปรากฎขึ้นเอง
อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรม
ให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนตลอดเวลาอยู่กับจิต
ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้นๆ กรรมใดกรรมมัน
พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆ มาตำหนิเลว เพราะเท่ากับมีอุปาทานเห็น
กรรมนั้นๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้ง
ไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก ''
๖. " ถ้าบุคคลที่ไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่า ต่อขานคนที่จับ
ปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน
จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันเข้าไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน
สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไป
ด้วยความหมั่นไส้เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน
ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก
ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม
ก็ต้องยุติลง ใช้ ศีล-สมาธิ-ปัญญา อันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงใน
สันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฏของกรรม
โทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าเข้าไปมีหุ้นส่วน
กรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรม เป็นอันขาด จำไว้นะ ''
ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง
เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่ผู้หนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุง
ในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท
บอกว่า ฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงนั้นว่า อะไรกัน คนมา
ปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่ง
ตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน
กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและ วจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย
เรื่องที่ ๒ คือ ตัวข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัย เรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษ
ผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโตๆว่า
''เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับที่ ๒ ของโลก "
จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่า ''ไม่จริง'' เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง
เพราะประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา
แต่หนังสือพิมพ์ของเขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบเมืองไทย
เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดี ในหน้าแรกตัวโตๆ
จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่า ''ไม่จริง'' เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง
เพราะประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา
แต่หนังสือพิมพ์ของเขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบเมืองไทย
เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดี ในหน้าแรกตัวโตๆ
ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน
ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง
: หมายเหตุ
นี่คือตัวอย่างเมือ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้ว หากก้าวหน้าในการ
ปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิด ก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือ หิริ-โอตัปปะ)
ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย
ผมขออาราธนาบารมีคุณของพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความ
ศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ
ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง
: หมายเหตุ
นี่คือตัวอย่างเมือ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้ว หากก้าวหน้าในการ
ปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิด ก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือ หิริ-โอตัปปะ)
ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย
ผมขออาราธนาบารมีคุณของพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความ
ศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ
No comments:
Post a Comment