18.6.12

หลังทำบุญแล้ว ต้องกรวดน้ำหรือไม่?

  


ปุจฉา 

อยากขอคำอธิบายเรื่อง “สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ” ที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า เป็นคำสอนระดับหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา

น้ำเพชร/กาญจนบุรี 

วิสัชนา 

ลองอ่านนิทานปรัชญาต่อไปนี้ บางทีอาจมีคำตอบที่ตรงกับใจของคุณก็เป็นได้ แม้จะเขียนไว้นานแล้ว
แต่เมื่อว่าโดยเนื้อหาสาระ คิดว่าคงพอจะทำให้มองเห็นแก่นสาระสำคัญ ของข้อความข้างต้นนั้นได้บ้าง


ถือ (ก็) หนัก วาง (ก็) เบา

เคยมีคนไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์ให้เหลือเพียงสั้นๆทว่า ครอบคลุมใจความทั้งหมดแห่งพระพุทธศาสนา

พระองค์ตรัสว่า หากจะให้สรุปเช่นนั้น ก็ขอสรุปเช่นนั้นก็ขอสรุปว่า ใจความแห่งคำสอนของพระองค์ขึ้นอยู่กับประโยคที่ว่า

“สัพเพ ธัมมานาลัง อะภินิเวสายะ ใดใดในโลกอันบุคคลไม่ควรยึดติดถือมั่น” ทำไมจึงไม่ควรยึดติดถือมั่น

เพราะที่ใดมีความถือมั่น ที่นั่นก็มีความทุกข์ ความทุกข์ขยายตัวตามระดับความเข้มข้นของความยึดติด

ยึดมาก ติดมาก จึงทุกข์น้อย

ไม่ยึด ไม่ติด จึงไม่ทุกข์

ความไม่ยึดติดถือมั่น กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า “ความปล่อยวาง”

ทำไมจึงต้องปล่อยวาง

เพราะทุกอย่าง “มีความว่าง” มาแต่เดิม

คนที่หลงกอด “ความว่าง” โดยคิดว่าเป็น “ความมี” ทำไมจะไม่ทุกข์ ?

พระบวชใหม่รูปหนึ่ง เดินบิณฑบาตผ่านชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งมีผู้คนจอแจ

ขณะเดินสำรวมก้มหน้าแต่พอประมาณ เพื่อเดินผ่านชุมชนไปอย่างช้าๆ นั้นเองจู่ๆ ก็มีชายวัยกลางคนคนหนึ่งใส่สูทผูกเนคไท สวมแว่นตาดำเดินเข้ามาหาท่าน
พร้อมทั้งชี้หน้าด่าท่านอย่างสาดเสียเทเสีย

พระรูปตกตะลึง รีบเดินหนี แต่แม้ท่านจะเดินหนีชายคนนั้นพ้นแล้ว แต่เสียงด่าของเขายังคงก้องอยู่ในโสตประสาทของท่านอย่างชัดถ้อยชัดคำ

เมื่อกลับถึงวัด พลันที่คิดถึงเหตุการณ์ ที่ตนถูกชี้หน้าด่ากลางฝูงชน พระหนุ่มก็รู้สึกโกรธจนหน้าแดงก่ำ ยิ่งคิดต่อไปว่าชายคนนั้นมาชี้หน้าด่าตน ซึ่งเป็นพระและตนเองก็จำได้ว่า ตั้งแต่บวชเข้ามาในพระธรรมวินัย ก็ยังไม่เคยทำอะไรผิด

คิดมาถึงขั้นว่าตนไม่ผิด แต่ทำไมตนต้องถูกด่า ยิ่งเจ็บ ยิ่งแค้น วันที่ท่านถูกด่ากลางชุมชนนั้นเป็นวันศุกร์ แต่ตกถึงเช้าวันจันทร์ท่านก็ยังไม่หายโกรธ

เช้าวันจันทร์นั้น พระบวชใหม่ประคองบาตร เดินผ่านชุมชนนั้นเหมือนเดิม ท่านพยายามสอดส่ายสายตามองหาชายคนเดิม ตั้งใจว่าวันนี้จะต้องถามให้รู้เรื่อง ว่าเหตุจึงมาชี้หน้าด่าตนเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว

ยิ่งพยายามค้นหากลับยิ่งไม่พบ ท่านจึงเดินสำรวจรับอาหารบิณฑบาตต่อไป จนได้อาหารเต็มบาตรแล้วจึงเดินกลับวัด

ระหว่างทางกลับวัด โดยไม่คาดฝัน พระหนุ่มทอดสายตาไปพบกับชายคนหนึ่งสวมสูท ผูกเทคไท ใส่แว่นตาดำ ท่านอุทานในใจว่า
“อ๋อ เจ้าคนนี้เองที่ด่าฉันเมื่อวันศุกร์”

ภาพที่เห็นก็คือ ชายแต่งตัวดีคนนั้น นอนหลับหมดสติอยู่ข้างศาลเจ้าแห่งหนึ่งข้างๆ ตัวเขามีขวดเหล้าล้มกลิ้งอยู่ พอท่านพยายามเดินเข้าไปมองใกล้ๆ เขาจึงเริ่มรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา พอเห็นท่านเท่านั้นชายคนนั้นก็ร้องขึ้นมาว่า

“ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นกล้าฯ บัดนี้ พระองค์ทรงกลับมาครองอยุธยาอีกครั้งหนึ่งแล้วกระนั้นหรือ...”
ว่าแล้วก็ลุกขึ้นรำเฉิบๆ

พลันที่ท่านประเมินว่าชายแต่งตัวดี คนที่ชี้หน้าด่าท่านเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เป็นคนบ้าที่มาในร่างของคนแต่งตัวดีเท่านั้นเอง

ความโกรธที่ก่อตัวเป็นเมฆดำทะมึน อยู่ในใจของท่านมานานถึงสามวัน ก็พลันอันตรธานไปอย่างง่ายดายชนิดไร้ร่องรอย

ทำไม เราจึงปล่อยวางต่อคนบ้าได้ง่ายดายเหลือเกิน ?
แต่กับคนปกติทำไม เราจึงมีความรู้สึกว่าต้องเอาเรื่องราวให้ถึงที่สุด ?

credit -- ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ 
ฉบับวันที่ 20 ตุลาคม 2549 
http://www.dharmastation.org 

การให้อภัย