พระพุทธองค์ทรงพระเมตตาตรัสสอนเมื่อพฤหัสบดีที่ ๘ ต.ค.๒๕๓๕ ที่วัดท่าซุง มีความสำคัญว่า การปฏิบัติธรรมของตถาคตต้องเร็ว ๆ ไว ๆ ไม่เนิ่นช้า ไม่ประมาท โดยพยายามใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากที่สุดหรือเสียเวลาน้อยที่สุด ผมขอสรุปเป็นข้อ ๆ เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดมรรคผล มีหลัก ๑๐ ประการ ดังนี้
๑.เจ้าจงหมั่นพิจารณาสรีระให้เน่าเปื่อยสกปรก (ให้พิจารณากายคตาและอสุภะ)
๒. เจ้าจงหมั่นพิจารณาถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก (ให้พิจารณามรณาและอานาปา)
๓. เจ้าจงหมั่นพิจารณากฎของกรรม โทษของกาม ให้เกิดจนจิตยอมรับ
๔. หมั่นขึ้นไปดูวิมานของตนที่พระนิพพานเพื่อยังอารมณ์จิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ
๕. หมั่นนึกถึงตถาคต และพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์, พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์, พระอรหันต์สาวกเจ้าทั้งปวงที่จบกิจในพุทธศาสนาแล้วว่า ท่านมาแดนพระนิพพานได้อย่างไร หมั่นจดจำ และทำมรรคผลนั้น ๆ ให้เกิด
๖. ระลึกเสมอว่ามนุษโลก-เทวโลก-พรหมโลกมิได้สุขจริง แค่เพียงอาศัยพักทุกข์ชั่วคราว ไม่ช้าก็ต้องไปเกิดใหม่ แต่ส่วนใหญ่ต้องลงอเวจีมหานรก เราจักไม่ต้องการมันอีก (ให้ตัดอวิชชาหรือสังโยชน์ข้อ ๑๐ หรืออุปสมานุสสตินั่นเอง)
๗. เมื่อเจ้าเห็นครบวงจรแล้ว จิตก็จงหมั่นพิจารณาตามนั้นจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยได้อย่างชัดเจน (เห็นกฎของกรรม โทษของกาม)
๘. กฎของกรรมใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับเจ้า เจ้าต้องยอมรับกรรมนั้น กำหนดจิตคิดอย่างผู้มีสติรู้สึกว่า ผลของกรรมนี้มีเหตุเนื่องมาจากเราเป็นผู้ก่อเอาไว้ในชาติก่อน เพราะละเมิดศีล ๕ มาก่อนทั้งสิ้น ขอยอมรับกรรมนี้โดยสงบ และขอรับเป็นครั้งสุดท้าย ชาติต่อไปขึ้นชื่อว่าการเกิดมีร่างกายอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์จักไม่มีกับ เราอีก ขอมีพระนิพพานเป็นที่ไป (ให้เคารพและยอมรับกฎของกรรม)
๙. จริยาใดที่ขัดต่อศีล ธรรม ขอยกเลิกการกระทำนั้น ๆ ด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คือ ยอมตายดีกว่ากระทำผิดศีลและธรรมนั้น ๆ (ให้ทรงอธิศีล)
๑๐.เราจักประพฤติปฏิบัติศีลและธรรมนั้นด้วยชีวิต แม้จะตายก็ช่าง หากตายเราก็ขอไปพระนิพพานจุดเดียว
คำสอน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
credit -- พุทธธรรมนำใจ