2.1.13

กรรมมีเท่าไรกันแน่




     เรื่องของกรรม พระพุทธเจ้าท่านได้จำแนกไว้อย่างลึกซึ้ง แบ่งเป็นหลายประเภทคือ

กรรม ๒ ได้แก่ 

๑.กรรมชั่ว หรือกรรมที่เป็นอกุศล (อกุศลกรรม)

๒.กรรมดี หรือกรรมที่เป็นกุศล (กุศลกรรม)

กรรม ๓ ได้แก่ 

๑.การกระทำทางกาย (กายกรรม)

๒.การกระทำทางวาจา (วจีกรรม)

๓.การกระทำทางใจ (มโนกรรม)

กรรม ๑๒ ได้แก่ 

๑.กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันในภพนี้
(ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม)

๒.กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิดในภพหน้า
(อุปปัชชเวทนียกรรม)

๓.กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
(อปราปริยเวทนียกรรม)

๔.กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
(อโหสิกรรม)

๕.กรรมแต่งให้เกิด หรือเป็นตัวนำไปเกิด
(ชนกกรรม)

๖.กรรมสนับสนุนซ้ำเติมจากชนกกรรม
(อุปัตถัมภกรรม)

๗.กรรมบีบคั้นที่ให้ผลทุเลาลง หรือบั่นทอนวิบากลง (อุปปีฬกกรรม)

๘.กรรมตัดรอนที่มีแรงส่งเข้าตัดรอนชนกกรรมให้ขาดไป (อุปฆาตกกรรม)

๙.กรรมหนักที่ให้ผลทันทีเช่น สมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม (ครุกกรรม)

๑๐.กรรมทำมากรองจากครุกกรรม(พหุลกรรม)

๑๑.กรรมจวนเจียนตอนใกล้ ถ้าไม่มี ๒ ข้อบนก็ให้ผลก่อน...... (อาสันนกรรม)

๑๒.กรรมเจตนาอ่อนหรือไม่เจตนาตรงๆ จะให้ผลเมื่อไม่มีอันอื่น (กตัตตากรรม)

อนันตริยกรรม ๕ คือ 

กรรมหนัก ๕ ประการที่บาปที่สุด ซึ่งให้ผลทันทีได้แก่

๑.ฆ่ามารดา (มาตุฆาต)

๒.ฆ่าบิดา (ปิตุฆาต)

๓.ฆ่าพระอรหันต์ (อรหันตฆาต)

๔.ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต (โลหิตุปบาท)

๕.ทำให้สงฆ์แตกกัน (สังฆเภท)


credit--เด็กหน้าวัด

การให้อภัย