10.5.13
เหตุมีประมาณเท่าไรหนอบุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก ?
สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวก
ใกล้พระนครราชฤห์
ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอบุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พ. ดูกรชีวก
เมื่อใดแลบุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลชื่อว่าเป็นอุบาสก
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ?
พ. ดูกรชีวก
เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาบิบาต (ไม่ฆ่าไม่ตัดชีวิต)
งดเว้นจากอทินนาทาน (ไม่ถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ได้ให้)
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (ไม่ประพฤติผิดในกาม)
งดเว้นจากมุสาวาท (ไม่กล่าวเท็จ ไม่โกหก)
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ฯ
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
อุบาสกชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ?
พ. ดูกรชีวก
เมื่อใดแล
อุบาสกถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ (การบริจาค การสละ การให้)
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ
ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม
ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม
ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม
ตนเองเป็นผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ?
พ. ดูกรชีวก
เมื่อใดแล
อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง
และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๑
ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ
และชักชวนผู้อื่นในการเห็นภิกษุ ๑
ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม
และชักชวนผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑
ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว
และชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑
ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว
และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑
ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถผู้ทั่วถึงธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
****************************
จบ ชีวกสูตร
****************************
ที่มา -- Like & แชร์ ธรรมะแท้ๆจากพระพุทธองค์/fb.com
-
พระท่านว่า ''สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ'' แปลว่า ข้าพเจ้าของดเว้นจากการดื่มสุราเมร...
-
๑. อันธพาลปุถุชน - ผู้ที่ทำ พูด คิด ตามสัญชาตญาณอย่างสัตว์ ไม่รู้จักควบคุมตัวเอง - การกระทำการต่าง ๆ ไปตามอำนาจของ โลภ โกรธ หลง ๒. พาลปุถุ...
-
วิธีการลาพุทธภูมิ ..........การลาพุทธภูมิเป็นวิธีการสำหรับท่านผู้ที่เคยปรารถนาพุทธภูมิในแบบต่างๆ เช่น ปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะ วิริยะธิกะ...
-
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นโทษไม่รู้จบ การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องตกอยู่ในวงจรนี้อย่ า...
-
กรรมปวดหลัง อาจเป็นกรรมที่เกิดจากเคยตีหลังหมา หรือ ตีตะขาบกลางหลัง เป็นต้น วิธีแก้กรรม ก่อนใส่บาตรให้จุดธูป ๓ ดอก ขอขมากร...
-
ภาพแห่งพระมหาเถระผู้เฒ่า พูดจาเสียงดังฟังชัด ออกกิริยาท่าทางไร้มารยา นัยน์ตามีแววมุ่งมั่นรูปหนึ่ง ซึ่งทุกคนเรียกติดปากว่า “...